Sunday, May 29, 2005

Violin Posting No. 6: Open Strings

The practice of open strings is an important exercise in creating good tone – for a focus on this, see the previous posting on tone production. Besides this, other exercises for dynamics and articulation in bow use can be done with the open string as well – a look at any of the major etudes/studies will provide a great list of bowing possibilities. The following is a basic form of open string exercises .

1. "Touch and go.” Create a clear open string sound with no extras. I find the best way to do this is to allow one brief moment for the bow to touch the string and then, move the bow.
Skills: Allow the extra pressure you have in your bowgrip to release onto the string when the bow touches down. If you have a “crunch” at the beginning of the note, check that
a) you aren’t waiting too long on the string,
b) there isn’t any extra pressure on the string
c) that the bow moves immediately – and not starting off too slowly.

2. “With bite.” Start with the bow on the string, with some pressure. Gives a bright, powerful sound with a little “bite” or “kapow!” if you prefer comic-book vocabulary. Common in the traditional Russian and Eastern European inclinations.

3. Off the string. This may provide a “freer” sort of sound when “with bite” sounds too rough-edged.
Skills: How “free” or bright this sound of course depends on various factors, which you can experiment with, if problems arise:
a) speed at which the bow hits the string
b) that the bowgrip is flexible enough to act as “suspension” for the bow
c) angle at which the bow hits the string (the balance between the vertical and the horizontal)

4. Off the string – with an accent. See notes above.

5. With a crescendo. Skills: Try this both with down and up bows and try to make the same sound both ways – in this case, down bows may be more difficult.

6. With a decrescendo. Logically, up bows then may be more difficult in this one.

7. Crescendo-Decrescendo. Somehow I feel like using “diminuendo” here instead of “decrescendo”. Skills: In one bow, remaining in the same part of the string. Make sure the increase and decrease of the sound is even and balanced.

8.Decrescendo-Crescendo. Much tougher. Skills: Start loud, get soft, get back to loud. Keep it balanced.

9. Crescendo-Decrescendo Extra. Move closer to the bridge during the crescendo, and away during the decrescendo.

10. Decrescendo-Crescendo Extra. Start loud and near the bridge, get softer as you go away from the bridge, and get louder moving near the bridge again.

2 comments:

Anonymous said...

การฝึกสีสายเปล่าเป็นเทคนิคสำคัญที่จะพัฒนาการสร้าง Tone เสียงที่ดี (ลองกลับไปอ่านหัวข้อเรื่อง Tone Production ที่เคย Post ไปแล้ว) นอกจากนี้การฝึกสีสายเปล่ายังช่วยพัฒนาเรื่องของความดังเบา (Dynamic) และสำเนียงเสียง (Articulation) อีกด้วย หากลองพิจารณาแบบฝึกหัด (Etude หรือ Studies) ทั้งหลายจะเห็นว่ามีเทคนิคการใช้คันชักหลากหลายแบบ แต่ปัญหาก็คือแบบฝึกพวกนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าเสียงที่เล่นควรจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะต้องค้นคว้าและทดลองเพื่อให้รู้

หัวข้อนี้จะพูดถึงการฝึกฝึกสีสายเปล่า ซึ่งผมได้เตรียมไฟล์ mp3 ไว้ให้พวกเราลอง download ไปลองฟังดูได้ ไฟล์พวกนี้ผมอัดโดยใช้ไมค์ของเครื่องคอมฯ ทำให้คุณภาพเสียงออกมาไม่ดีนักแต่คิดว่าพวกเราฟังแล้วคงพอจะเข้าใจและจับหลักการได้

แบบฝึกหัดที่ 1 : “Touch and go” เป็นการสร้างเสียงที่เคลียร์แบบใสสะอาดไม่มีเสียงซ้อนหรือเสียงอะไรแปลกปลอม วิธีที่ดีที่สุดคือวางคันสีให้แตะสายเพียงชั่วอึดใจ แล้วก็ลากคันสี
ทักษะ : เมื่อวางคันสีจนแตะสายแล้วให้ผ่อนแรงกดที่มือที่จับคันสีออกไปก่อนจะเริ่มลากคันสี ถ้าคุณเล่นแล้วมีเสียงสากๆ ตอนเริ่มต้นลากให้ตรวจสอบดังนี้
a) วางคันสีลงบนสายแล้วรอนานเกินไปก่อนจะลากคันสี การรอนานอาจทำให้เกิดการเกร็งได้
b) ไม่ได้ผ่อนแรงกดมือที่จับคันสี หรือผ่อนน้อยเกินไป
c) ลากคันสีด้วยความเร็วที่พอเหมาะทันทีที่เริ่ม อย่าค่อยๆ ลากจากช้าๆ แล้วเพิ่มความเร็ว
(ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/1.mp3)


แบบฝึกหัดที่ 2 : “With Bite” ให้มีเสียงกัดๆ นิดๆ โดยให้มีแรงกดที่คันสีพอประมาณตอนเริ่มลากคันสี เสียงที่ได้จะออกแข็งๆ คมๆ หน่อยและเป็นเสียงที่มีพลัง เราเรียกว่าเป็นเสียงกัด เป็นลักษณะเสียงที่นักเล่นชาวรัสเซียและยุโรปตะวันออกชอบเล่น (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/2.mp3)


แบบฝึกหัดที่ 3 : “Off the string” เริ่มลากคันสีจากบนอากาศ (เหนือสาย) และลดต่ำลงมาจนแตะสาย เสียงที่ได้จะมีความเป็นอิสระมากกว่า เทียบกับแบบ “With Byte” ซึ่งจะออกแข็งๆ
ทักษะ: เสียงที่ได้จะออกมาอิสระหรือออกคมๆ ขึ้นกับหลายปัจจัยซึ่งคุณจะต้องทดลองปรับเปลี่ยนด้วยตัวเอง
a) ความเร็วของคันสีในขณะที่กระทบสาย
b) ความยืดหยุ่นของมือขวาที่จับคันสี มือขวาควรจะมีความยืดหยุ่น
c) มุมของคันสีที่ลงมากระทบสาย ออกในแนวขนานๆ กับสาย หรือลงมาจาก�

Anonymous said...

การฝึกสีสายเปล่าเป็นเทคนิคสำคัญที่จะพัฒนาการสร้าง Tone เสียงที่ดี (ลองกลับไปอ่านหัวข้อเรื่อง Tone Production ที่เคย Post ไปแล้ว) นอกจากนี้การฝึกสีสายเปล่ายังช่วยพัฒนาเรื่องของความดังเบา (Dynamic) และสำเนียงเสียง (Articulation) อีกด้วย หากลองพิจารณาแบบฝึกหัด (Etude หรือ Studies) ทั้งหลายจะเห็นว่ามีเทคนิคการใช้คันชักหลากหลายแบบ แต่ปัญหาก็คือแบบฝึกพวกนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าเสียงที่เล่นควรจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะต้องค้นคว้าและทดลองเพื่อให้รู้

หัวข้อนี้จะพูดถึงการฝึกฝึกสีสายเปล่า ซึ่งผมได้เตรียมไฟล์ mp3 ไว้ให้พวกเราลอง download ไปลองฟังดูได้ ไฟล์พวกนี้ผมอัดโดยใช้ไมค์ของเครื่องคอมฯ ทำให้คุณภาพเสียงออกมาไม่ดีนักแต่คิดว่าพวกเราฟังแล้วคงพอจะเข้าใจและจับหลักการได้

แบบฝึกหัดที่ 1 : “Touch and go” เป็นการสร้างเสียงที่เคลียร์แบบใสสะอาดไม่มีเสียงซ้อนหรือเสียงอะไรแปลกปลอม วิธีที่ดีที่สุดคือวางคันสีให้แตะสายเพียงชั่วอึดใจ แล้วก็ลากคันสี
ทักษะ : เมื่อวางคันสีจนแตะสายแล้วให้ผ่อนแรงกดที่มือที่จับคันสีออกไปก่อนจะเริ่มลากคันสี ถ้าคุณเล่นแล้วมีเสียงสากๆ ตอนเริ่มต้นลากให้ตรวจสอบดังนี้
a) วางคันสีลงบนสายแล้วรอนานเกินไปก่อนจะลากคันสี การรอนานอาจทำให้เกิดการเกร็งได้
b) ไม่ได้ผ่อนแรงกดมือที่จับคันสี หรือผ่อนน้อยเกินไป
c) ลากคันสีด้วยความเร็วที่พอเหมาะทันทีที่เริ่ม อย่าค่อยๆ ลากจากช้าๆ แล้วเพิ่มความเร็ว
(ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/1.mp3)


แบบฝึกหัดที่ 2 : “With Bite” ให้มีเสียงกัดๆ นิดๆ โดยให้มีแรงกดที่คันสีพอประมาณตอนเริ่มลากคันสี เสียงที่ได้จะออกแข็งๆ คมๆ หน่อยและเป็นเสียงที่มีพลัง เราเรียกว่าเป็นเสียงกัด เป็นลักษณะเสียงที่นักเล่นชาวรัสเซียและยุโรปตะวันออกชอบเล่น (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/2.mp3)


แบบฝึกหัดที่ 3 : “Off the string” เริ่มลากคันสีจากบนอากาศ (เหนือสาย) และลดต่ำลงมาจนแตะสาย เสียงที่ได้จะมีความเป็นอิสระมากกว่า เทียบกับแบบ “With Byte” ซึ่งจะออกแข็งๆ
ทักษะ: เสียงที่ได้จะออกมาอิสระหรือออกคมๆ ขึ้นกับหลายปัจจัยซึ่งคุณจะต้องทดลองปรับเปลี่ยนด้วยตัวเอง
a) ความเร็วของคันสีในขณะที่กระทบสาย
b) ความยืดหยุ่นของมือขวาที่จับคันสี มือขวาควรจะมีความยืดหยุ่น
c) มุมของคันสีที่ลงมากระทบสาย ออกในแนวขนานๆ กับสาย หรือลงมาจากแนวดิ่ง (นึกถึงตอนเราแกล้งเพื่อนถ้าเราทิ้งมือใส่หัวเพื่อนลงในมุมที่เป็นแนวดิ่งมากๆ เรียกว่า ”ตบกระโหลก” แต่ถ้าสัมผัสแนวขนานหน่อยเรียก “เบิร์ดกระโหลก” หรือ “เช็ดกระโหลก” ถ้าเปรียบหัวเพื่อนเป็นสายไวโอลิน มือขวาที่ตบลงเป็นคันสี มุมที่ตบลงไปนั่นแหล่ะครับ) (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/3.mp3)

แบบฝึกหัดที่ 4 : “Off the string – with an accent” คือลักษณะเสียงแบบแบบฝึกหัดที่ 3 เพียงแต่จะมีลักษณะเสียงแบบเน้นมากกว่า ให้ดูแบบฝึกหัดที่ 3 (ปรับปัจจัย a,b,c ให้เหมาะสม จะได้เสียงนั้น) (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/4.mp3)

แบบฝึกหัดที่ 5 : “With a cressendo” ไม่ใช่ชื่อวงนะครับ เป็นการลากคันสีให้เกิดเสียงที่ดังขึ้นขณะที่ลาก
ทักษะ: ให้ลองสีทั้งแบบลากขึ้นและลากลง โดยให้ได้ลักษณะเสียงที่ดังขึ้นแบบเดียวกัน (แบบลากคันสีลงจะยากกว่า) (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/5.mp3)

แบบฝึกหัดที่ 6: “With a Decresendo” เป็นการลากคันสีให้เกิดเสียงที่เบาลงขณะที่ลาก
ทักษะ: ให้ลองสีทั้งแบบลากขึ้นและลากลง โดยให้ได้ลักษณะเสียงที่เบาลงแบบเดียวกัน (แบบลากคันสีขึ้นจะยากกว่า) (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/6.mp3)

แบบฝึกหัดที่ 7 – 10 จะค่อนข้างยากสักหน่อยแต่ก็ท้าทายดี

แบบฝึกหัดที่ 7: “Cressendo - Decresendo” (จริงๆ น่าจะเป็น Dimminuendo มากกว่าจะเป็น Decressendo) เป็นการลากคันสีให้เกิดเสียงที่ดังขึ้นและเบาลงขณะที่ลาก
ทักษะ: ตอนสีพยายามอย่าให้คันชักเลื่อนเข้าใกล้หรือออกห่างหย่อง ให้อยู่ในตำแหน่งเดิมบนสายที่สี และพยายามให้เสียงที่ได้มีความสม่ำเสมอ (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/7.mp3)

แบบฝึกหัดที่ 8: “Decresendo - Cressendo” เป็นการลากคันสีให้เริ่มต้นด้วยเสียงที่ดังแล้วค่อยเบาลงแล้วกลับดังขึ้นอีกครั้ง แต่พยายามให้เสียงที่ได้ต่อเนื่องและสม่ำเสมอกัน (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/8.mp3)

แบบฝึกหัดที่ 9: “Cressendo – Decresendo เพิ่มเติม” ดังขึ้นแล้วเบาลงคล้ายกับแบบที่ 7 แต่วิธีการเร่งเสียงให้ดังขึ้นจะเป็นการขยับตำแหน่งที่สีของคันสีให้เข้าใกล้หย่อง จะได้เสียงที่ดังขึ้นและเมื่อจะเบาลง ก็ขยับตำแหน่งออกจากหย่อง (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/9.mp3)

แบบฝึกหัดที่ 10: “Decresendo – Cressendo เพิ่มเติม” เบาลงแล้วดังขึ้นคล้ายกับแบบที่ 8 แต่ให้เริ่มต้นสีที่ตำแหน่งใกล้หย่อง จะได้เสียงดังเป็นพิเศษ แล้วเบาลงโดยขยับตำแหน่งสีให้ออกห่างจากหย่อง และให้ดังขึ่นอีกครั้งโดยขยับเข้าใกล้หย่อง (ตัวอย่าง http://home.ripway.com/2005-5/308571/10.mp3)

Download ไฟล์รวมตั้งแต่แบบฝึกหัดที่ 1-10 ได้ที่นี่ : http://home.ripway.com/2005-5/308571/open_strings.mp3

มุกุ